ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญา หมายถึง ความเชื่อหรือแนวความคิดที่รวบรวมรายละเอียดต่างๆของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พยายามหาคำตอบที่เป็นจริงทีเป็นนิรันดร์ สามารถอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยาในการค้นหาความจริง ซึ่งเป็นวิธีคิดอย่างมีเหตุมีผล เนื้อหาของปรัชญาเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคตามสมัยแล้วแต่จะสนใจเรื่องใดหรือปัญหาใดอันจะก่อให้เกิดต่อมนุษยชาติ
ปรัชญาแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ
1. อภิปรัชญา (Metaphysics) หรือ ภววิทยา (Onthology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความจริง (Reality) เพื่อคนหาความจริงอันเป็นที่สูงสุด (Ultimate reality) ได้แก่ความจริงที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติ จิตวิญญาณ รวมทั้งเรื่องของพระเจ้า อันเป็นบ่อเกิดของศาสนา
2. ญาณวิทยา (Epistemology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความรู้ (Knowledge) ศึกษาธรรมชาติของความรู้บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ซึ่งความรู้อาจจะได้มาจากแหล่งต่างๆหรือเป็นความรู้ที่เกิดจากการพิจารณาเหตุและผล หรือได้จากการสังเกต
3. คุณวิทยา (Axiology) ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่านิยม (Value) เช่น คุณค่า เกี่ยวกับความดีและความงาม มีอะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าอย่างไรดี อย่างไรงาม แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 จริยศาสตร์ (Ethics) ได้แก่ คุณค่าแห่งความประพฤติ หลักแห่งความดีและความงาม
3.2 สุนทรียศาสตร์ (Anesthetics) ได้แก่ คุณค่าความงามทางศิลปะ ซึ่งสัมพันธ์กับจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งตัดสินได้ยากและเป็นอัตนัย เป็นคุณค่าภายนอก
ปรัชญาการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา
ปรัชญา ช่วยให้เกิดความชัดเจนทางการศึกษาและทําให้นักศึกษาสามารถดําเนินการทางการศึกษาได้อย่างถูกต้องรัดกุม เพราะได้ผ่านการพิจารณา วิพากย์วิเคราะห์อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม ทําให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ขจัดความไม่สอดคล้อง และหาทางพัฒนาแนวคิดใหม่ให้กับการศึกษา
ความหมายของปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาคือ แนวความคิด หลักการ และกฏเกณฑ์ในการกําหนด แนวทางในการจัดการศึกษา ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดําเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และปรัชญาการศึกษายังพยายามทําการวิเคราะห์และทําความเข้าใจเกี่ยวกับ การศึกษา ทําให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน ปรัชญาการศึกษาเปรียบ เหมือนเข็มทิศนําทางให้นักการศึกษาดําเนินการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจนและสมเหตุสมผล
ปรัชญาแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ
1. อภิปรัชญา (Metaphysics) หรือ ภววิทยา (Onthology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความจริง (Reality) เพื่อคนหาความจริงอันเป็นที่สูงสุด (Ultimate reality) ได้แก่ความจริงที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติ จิตวิญญาณ รวมทั้งเรื่องของพระเจ้า อันเป็นบ่อเกิดของศาสนา
2. ญาณวิทยา (Epistemology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความรู้ (Knowledge) ศึกษาธรรมชาติของความรู้บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ซึ่งความรู้อาจจะได้มาจากแหล่งต่างๆหรือเป็นความรู้ที่เกิดจากการพิจารณาเหตุและผล หรือได้จากการสังเกต
3. คุณวิทยา (Axiology) ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่านิยม (Value) เช่น คุณค่า เกี่ยวกับความดีและความงาม มีอะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าอย่างไรดี อย่างไรงาม แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 จริยศาสตร์ (Ethics) ได้แก่ คุณค่าแห่งความประพฤติ หลักแห่งความดีและความงาม
3.2 สุนทรียศาสตร์ (Anesthetics) ได้แก่ คุณค่าความงามทางศิลปะ ซึ่งสัมพันธ์กับจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งตัดสินได้ยากและเป็นอัตนัย เป็นคุณค่าภายนอก
ปรัชญาการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา
ปรัชญา ช่วยให้เกิดความชัดเจนทางการศึกษาและทําให้นักศึกษาสามารถดําเนินการทางการศึกษาได้อย่างถูกต้องรัดกุม เพราะได้ผ่านการพิจารณา วิพากย์วิเคราะห์อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม ทําให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ขจัดความไม่สอดคล้อง และหาทางพัฒนาแนวคิดใหม่ให้กับการศึกษา
ความหมายของปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาคือ แนวความคิด หลักการ และกฏเกณฑ์ในการกําหนด แนวทางในการจัดการศึกษา ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดําเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และปรัชญาการศึกษายังพยายามทําการวิเคราะห์และทําความเข้าใจเกี่ยวกับ การศึกษา ทําให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน ปรัชญาการศึกษาเปรียบ เหมือนเข็มทิศนําทางให้นักการศึกษาดําเนินการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจนและสมเหตุสมผล
ปรัชญาการศึกษามีที่เป็นที่ นิยมกันอย่างกว้างขวางดังต่อไปนี้
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมมาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า จิตเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดในชีวิตของคน การที่จะรู้และ เห็นความจริงได้ก็ด้วยความคิด (Ideas) อีกฝ่ายหนึ่งคือ วัตถุนิยม ซึ่งมีความเชื่อในเรื่อง วัตถุนิยม วัตถุในธรรมชาติที่เราเห็น สัมผัส หรือมีประสบการณ์ต่อสิ่งเหล่านั้น ทั้งสองฝ่ายกลายเป็นเนื้อหา หรือสาระ (Essence) หรือสารัตถศึกษา ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้ให้ความสนใจในเนื้อหาเป็นหลัก สําคัญ ถือว่าเนื้อหาสาระต่าง ๆ เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง ได้รับการกลั่นกรองมาดีแล้ว ควรได้รับการทํานุบํารุงและถ่ายทอดไปให้แก่คนรุ่นหลัง ถือ เป็นการอนุรักษ์และถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
แนวความคิดทางการศึกษา ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่ง พัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญานิรันตรนิยมมีรากฐานมาจากปรัชญา จิตนิยม และปรัชญาวัตถุนิยม ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ คือ ทัศนะแรกเน้นในเรื่อง เหตุผลและสติปัญญา อีกทัศนะหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะกลุ่ม ศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอลิค ตั้งแต่ 2 ทัศนะ เกี่ยวข้องกับเหตุและผล จนเชื่อได้ว่าเป็น โลกแห่งเหตุผล (A world of reason) ส่วนคําว่านิรันตร เชื่อว่าความคงทนถาวรย่อมเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาควรสอนสิ่งที่เป็นนิรันตร ไม่เปลี่ยนแปลง และจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทุกยุคทุกสมัย ได้แก่คุณค่าของเหตุผล คุณค่าของศาสนา เป็นการนําเอาแบบอย่างที่ดีของอดีตมาใช้ในปัจจุบันหรือย้อนกลับไปสู่สิ่งที่ดีงามในอดีต
แนวคิดทางการศึกษา ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้เชื่อว่าสิ่งที่สําคัญที่สุดของ ธรรมชาติมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งความสามารถในการใช้เหตุผลนี้จะควบคุม อํานาจฝ่ายต่ำของมนุษย์ได้ เพื่อให้มนุษย์บรรลุจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ปรารถนา
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism)
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญานี้เน้นกระบวนการ โดยเฉพาะ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เมื่อนํามาใช้กับการศึกษา แนวทางของการศึกษาจึงต้อง พยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและภาวะแวดล้อมอยู่เสมอ การศึกษาจะไม่สอนให้คน ยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่ หรือสิ่งที่กําหนดไว้ตายตัว ต้องหาทางปรับปรุง การศึกษาอยู่เสมอ เพื่อนําไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ปรัชญานี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรัชญาประสบการณ์นิยม (Experimentalism)
แนวความคิดทางการศึกษา มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการ เตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจ ความหมายของประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและ สิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจ ปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดที่พัฒนา มาจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือ ปฏิบัตินิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า ความรู้ ความจริง เป็นสิ่งที่ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเน้น ความสําคัญของการพัฒนาผู้เรียน ส่วนปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้ เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนําความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคม เป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แนวคิดทางการศึกษา เนื่องจาการศึกษามีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก การศึกษาจึงควรนําสังคมไปสู่สภาพที่ดีที่สุด การศึกษาต้องทําให้ผู้เรียนเข้าใจและ มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมอุดมคติขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและภาวะทางเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญานี้มีความสนใจและความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์ มนุษย์จะต้องเข้าใจและรู้จักตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความสําคัญและมีลักษณะเด่นเฉพาะตนเอง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือกตัดสินใจในการกระทําสิ่งใดๆแต่จะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทํานั้น ปรัชญาอัตถิภาวนิยมนี้ยกย่องมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด ส่งเสริมให้มนุษยมีความเป็นตัวของตัวเองแต่ก็ต้องไม่มองข้ามเสรีภาพของอื่น หมายถึงจะต้องเป็นผู้ใช้เสรีภาพบนความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดแระโยชน์ต่อส่วนรวม
แนวความคิดทางการศึกษา ส่งเสริมให้มนุษย์แต่ละคนรู้จักพิจารณาตัดสินสภาพและเจตจํานงที่มีความหมายต่อการดํารงชีวิต การศึกษา จะต้องให้อิสระแก่ผู้เรียนที่จะเลือกสรรสิ่งต่างๆได้อย่างเสรี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมมาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า จิตเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดในชีวิตของคน การที่จะรู้และ เห็นความจริงได้ก็ด้วยความคิด (Ideas) อีกฝ่ายหนึ่งคือ วัตถุนิยม ซึ่งมีความเชื่อในเรื่อง วัตถุนิยม วัตถุในธรรมชาติที่เราเห็น สัมผัส หรือมีประสบการณ์ต่อสิ่งเหล่านั้น ทั้งสองฝ่ายกลายเป็นเนื้อหา หรือสาระ (Essence) หรือสารัตถศึกษา ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้ให้ความสนใจในเนื้อหาเป็นหลัก สําคัญ ถือว่าเนื้อหาสาระต่าง ๆ เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง ได้รับการกลั่นกรองมาดีแล้ว ควรได้รับการทํานุบํารุงและถ่ายทอดไปให้แก่คนรุ่นหลัง ถือ เป็นการอนุรักษ์และถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
แนวความคิดทางการศึกษา ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่ง พัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญานิรันตรนิยมมีรากฐานมาจากปรัชญา จิตนิยม และปรัชญาวัตถุนิยม ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ คือ ทัศนะแรกเน้นในเรื่อง เหตุผลและสติปัญญา อีกทัศนะหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะกลุ่ม ศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอลิค ตั้งแต่ 2 ทัศนะ เกี่ยวข้องกับเหตุและผล จนเชื่อได้ว่าเป็น โลกแห่งเหตุผล (A world of reason) ส่วนคําว่านิรันตร เชื่อว่าความคงทนถาวรย่อมเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาควรสอนสิ่งที่เป็นนิรันตร ไม่เปลี่ยนแปลง และจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทุกยุคทุกสมัย ได้แก่คุณค่าของเหตุผล คุณค่าของศาสนา เป็นการนําเอาแบบอย่างที่ดีของอดีตมาใช้ในปัจจุบันหรือย้อนกลับไปสู่สิ่งที่ดีงามในอดีต
แนวคิดทางการศึกษา ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้เชื่อว่าสิ่งที่สําคัญที่สุดของ ธรรมชาติมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งความสามารถในการใช้เหตุผลนี้จะควบคุม อํานาจฝ่ายต่ำของมนุษย์ได้ เพื่อให้มนุษย์บรรลุจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ปรารถนา
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism)
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญานี้เน้นกระบวนการ โดยเฉพาะ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เมื่อนํามาใช้กับการศึกษา แนวทางของการศึกษาจึงต้อง พยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและภาวะแวดล้อมอยู่เสมอ การศึกษาจะไม่สอนให้คน ยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่ หรือสิ่งที่กําหนดไว้ตายตัว ต้องหาทางปรับปรุง การศึกษาอยู่เสมอ เพื่อนําไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ปรัชญานี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรัชญาประสบการณ์นิยม (Experimentalism)
แนวความคิดทางการศึกษา มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการ เตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจ ความหมายของประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและ สิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจ ปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดที่พัฒนา มาจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือ ปฏิบัตินิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า ความรู้ ความจริง เป็นสิ่งที่ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเน้น ความสําคัญของการพัฒนาผู้เรียน ส่วนปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้ เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนําความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคม เป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แนวคิดทางการศึกษา เนื่องจาการศึกษามีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก การศึกษาจึงควรนําสังคมไปสู่สภาพที่ดีที่สุด การศึกษาต้องทําให้ผู้เรียนเข้าใจและ มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมอุดมคติขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและภาวะทางเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญานี้มีความสนใจและความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์ มนุษย์จะต้องเข้าใจและรู้จักตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความสําคัญและมีลักษณะเด่นเฉพาะตนเอง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือกตัดสินใจในการกระทําสิ่งใดๆแต่จะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทํานั้น ปรัชญาอัตถิภาวนิยมนี้ยกย่องมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด ส่งเสริมให้มนุษยมีความเป็นตัวของตัวเองแต่ก็ต้องไม่มองข้ามเสรีภาพของอื่น หมายถึงจะต้องเป็นผู้ใช้เสรีภาพบนความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดแระโยชน์ต่อส่วนรวม
แนวความคิดทางการศึกษา ส่งเสริมให้มนุษย์แต่ละคนรู้จักพิจารณาตัดสินสภาพและเจตจํานงที่มีความหมายต่อการดํารงชีวิต การศึกษา จะต้องให้อิสระแก่ผู้เรียนที่จะเลือกสรรสิ่งต่างๆได้อย่างเสรี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น