วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของหลักสูตร

คำว่า หลักสูตร หรือภาษาอังกฤษว่า curriculum ได้นำมาใช้มาก่อนคริสตศักราชประมาณ 100 ปี โดยมาจากรากศัพท์ว่า “ currere ” ซึ่งหมายถึง “ the course to run ” และ curriculum หมายถึง a racecourse of subject matter to be mastered ความหมายอื่น ๆ ที่นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ไว้มีดังต่อไปนี้
- กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบหรือลำดับวิชาที่บังคับสำหรับการจบการศึกษาหรือเพื่อรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหลัก ๆ เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา ( Good, 1973 )
- รายการของสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งผู้เรียนและเยาวชนจะต้องทำและประสบโดยการพัฒนาความสามารถเพื่อจะทำสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ดีและเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตในวัยผู้ใหญ่ ( Bobbitt, 1981 )
- ประสบการณ์ทุกชนิดที่ผู้เรียนได้รับภายใต้การแนะแนวของครู ( Coswell & Campbell, 1985 )
- ลำดับของประสบการณ์ซึ่งจัดขึ้นภายในโรงเรียนเพื่อกำหนดจุดประสงค์ในการอบรม ผู้เรียนและเยาวชนให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ( Smith, Stanley and Shores, 1957 )
- ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนภายใต้การควบคุมของโรงเรียน ( Saylop & Alexander, 1966 )
- การตัดสินใจก่อนที่จะดำเนินการเรียนการสอน ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดลำดับเนื้อหาวิชา การเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้สอน และการเลือกวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนกฎเกณฑ์ในการจัดกลุ่มเพื่อให้การสอนเป็นไปอย่างได้ผลมากที่สุด ( Schubert 1986 )

นอกจากนี้ยังมีความหมายสั้น ๆ เช่น
- สิ่งที่สอนกันในโรงเรียน
- วิชากลุ่มหนึ่ง
- เนื้อหาสาระ
- โปรแกรมการศึกษา
- สื่อการเรียนการสอนชุดหนึ่ง
- ลำดับของรายวิชาต่าง ๆ
- จุดหมายเชิงปฏิบัติชุดหนึ่ง
- รายวิชาที่ต้องศึกษา
- ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องเกิดขึ้นภายในโรงเรียน รวมทั้งกิจกรรมพิเศษของชั้น การแนะแนว และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- สิ่งที่สอนกันทั้งในและนอกโรงเรียนซึ่งจัดทำโดยโรงเรียน
- ชุดของประสบการณ์ที่นำไปปฏิบัติโดยผู้เรียนในโรงเรียน
- สิ่งที่ผู้เรียนแต่ละคนมีประสบการณ์อันเป็นผลมาจากการไปโรงเรียน

กล่าวโดยสรุป หลักสูตรในความหมายเดิม จะหมายถึง รายวิชาต่าง ๆ ที่นักเรียนจะต้องเรียน ส่วนความหมายใหม่จะหมายถึง มวลประสบการณ์ทั้งหมดที่นักเรียนจะได้รับภายใต้คำแนะนำและความรับผิดชอบของโรงเรียน
ดร. ฉวีวรรณ เศวตมาลย์


จากข้อความดังกล่าวสรุปได้ว่า

คำว่า หลักสูตร หรือเรียกตามภาษาอังกฤษว่า curriculum โดยมาจากรากศัพท์ว่า “ currere ” ซึ่งหลักสูตรแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับแรกหลักสูตรหมายถึง แนวทางการจัดการศึกษาของชาติเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะตามที่สังคมประเทศชาติต้องการ ซึ่งเป็นไปตามปรัชญา ค่านิยมของคนในชาติ และนโยบายของประเทศ และระดับสุดท้ายคือหลักสูตร หมายถึง แนวทางของโรงเรียนที่จะจัดการศึกษาและบริหารการศึกษาเพื่อความเจริญงอกงามของนักเรียนทุกด้าน จัดทำขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่นประกอบด้วยจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ เนื้อหาสาระและกิจกรรมประสบการณ์ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น และมีความสำคัญคือ เป็นแนวทางที่ครูจะต้องยึดถือในการจัดการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น